กระบวนการรับตัวอย่าง (Process)

กระบวนการรับสิ่งส่งตรวจ

Sample collection delivery services are available

For clients in Bangkok and suburban districts, sample collection delivery services are available as follows:

  1. For daily clients, 1-2 rounds of each type of service are available
    • 09.30 am. – 12.30 am. (Morning round)
    • 13.30 pm. – 18.00 pm. (Afternoon round)
  2. For occasional clients, please kindly inform us your needs at 02 136 3941
  3. For provincial clients, our available channels for specimens delivery services include:
    • Express mail service (EMS)
    • Coach bus or public transport bus service
    • Airplane service
    • Train service

In case of urgent needs or express requirements:

Customers can inform us the requirements during our operating hours. Our Staff alternate staffs will be assigned specifically for your convenience.

Certificates

Customers can inform us the requirements during our operating hours. Our Staff alternate staffs will be assigned specifically for your convenience.

References:

คลินิกเทคนิคการแพทย์อาจปฏิเสธการรับสิ่งส่งตรวจในกรณีที่สิ่งส่งตรวจนั้นตรงกับเกณฑ์ในการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ระบุไว้ในข้อแนะนำในการเก็บและนำส่งสิ่งส่งตรวจแต่ละการทดสอบ รวมถึงในกรณีที่สิ่งส่งตรวจมีลักษณะดังนี้

  1. สิ่งส่งตรวจที่ไม่มีฉลาก (Label) หรือ มีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดการส่งตรวจที่ระบุไว้
  2. ใบส่งตรวจแสดงรายละเอียดของผู้ป่วยไม่ชัดเจน หรือ ไม่ครบตามข้อกำหนด
  3. ฉลากที่สิ่งส่งตรวจและใบส่งตรวจ มีรายละเอียดไม่ตรงกัน
  4. กรณีสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม* สำหรับการตรวจวิเคราะห์

ทางห้องปฏิบัติการจะพิจารณาความเหมาะสม หากยังสามารถยอมรับ เช่น Hemolysis ในระดับ 1+ – 2+ (เล็กน้อย-ปานกลาง) ห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจและลงบันทึกแจ้งชี้บ่งในใบรายงานผล เพื่อให้แพทย์ทราบต่อไป  ซึ่งสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม มีผลกระทบดังนี้

4.1   ซีรั่มที่มีเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysed serum)

ปฏิเสธตัวอย่างเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกตั้งแต่ 3+ ขึ้นไป และจะชี้บ่งในใบรายงานผลกรณีรับไว้   ตรวจยกเว้นรายการตรวจ Electrolyteปฏิเสธตัวอย่างเมื่อมีเม็ดเลือดแดงแตกตั้งแต่ 1+ ขึ้นไป  โดยซีรั่มที่มีเม็ดเลือดแดงแตก         (Hemolysed serum)    มีผลกระทบต่อการทดสอบดังนี้Potassium , AST , ALT , Acid phosphatase , CK ,Serum Iron       ,Lactate Dehydrogenase(LDH), Magnesium , Phospholus (ดูรูปที่ 1 ตามเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะของซีรัม)

4.2   ซีรั่มเหลือง (Icteric serum)

รับตัวอย่างไว้ทดสอบทั้งหมดแต่จะชี้บ่งในใบรายงานผล ซึ่งซีรั่มเหลือง (Icteric serum)  อาจมีผลกระทบต่อค่าการดูดกลืนแสง หากค่าเกินค่าช่วงวัดให้ทำการเจือจางแล้วตรวจวัดซ้ำอีกครั้ง (ดูรูปที่ 2ตามเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะของซีรัม)

4.3   ซีรั่มขุ่นมีไขมัน (Lipemic serum)

ปฏิเสธตัวอย่างเมื่อซีรั่มขุ่นตั้งแต่  3+  ขึ้นไป และจะชี้บ่งในใบรายงานผลกรณีรับไว้ตรวจ  ซึ่งซีรั่มขุ่นมีไขมัน (Lipemic serum)      อาจมีผลกระทบต่อค่าการดูดกลืนแสง หากค่าเกินค่าช่วงวัดให้ทำการเจือจางแล้วตรวจวัดซ้ำอีกครั้ง (ดูรูปที่ 3 ตามเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะของซีรัม)

4.4   EDTA blood หรือ Citrated blood ที่มี Fibrin clot หรือสงสัยว่าอาจมี Fibrin clot เกิดขึ้น

4.5   สิ่งส่งตรวจมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม หรือนำส่งไม่ถูกต้อง เช่น การส่ง Viral load ต้องรักษาอุณหภูมิในการจัดส่งที่ 2 – 8°C หรือแช่เย็น

4.6   ปริมาตรของสิ่งส่งตรวจไม่มากพอตามเกณฑ์และข้อกำหนด ทำให้ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ถูกต้องเช่นเจาะเลือด CBC ได้น้อยกว่า 60 % ของหลอด (< 1.8 ml กรณีหลอด 3 ml) โดย CBC เจาะได้น้อยกว่าปริมาตรที่กำหนด อาจมีผลกระทบทำให้เม็ดเลือดแดงเหี่ยว มีผลทำให้ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง (Mean corpuscular volume; MCV, Mean corpuscular hemoglobin; MCH และ Mean corpuscular hemoglobin concentration; MCHC) ไม่เป็นไปตามจริงด้วย

4.7   ใช้ภาชนะใส่สิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง เช่น ใช้สารกันเลือดแข็งผิด ใช้สิ่งส่งตรวจผิดประเภท เช่น ส่ง EDTA Blood มาตรวจ Electrolyte,เก็บปัสสาวะเพื่อเพาะเชื้อใส่ขวดที่ไม่ปราศจากเชื้อ เป็นต้น

4.8  มีสิ่งส่งตรวจหกเปรอะเปื้อนอยู่นอกขวดหรือบนใบส่งตรวจ ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน

4.9  สิ่งส่งตรวจเก็บรอการตรวจไม่ถูกวิธี หรือเลือดเก่าเจาะเก็บไว้นานเกินเวลาที่กำหนดโดยไม่ส่งห้องปฏิบัติการ เช่น การส่งตรวจ CBC ส่งตัวอย่างเลือดนานเกินกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากเจาะเลือด

แนวทางการส่งต่อสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการอื่น

ทางห้องปฏิบัติการจะส่งต่อสิ่งส่งตรวจในรายการส่งตรวจที่ไม่ได้เปิดตรวจภายในห้องปฏิบัติการไปยังผู้รับเหมาช่วง ดังนี้

  1. ศูนย์ห้องปฏิบัติการศิริราช(SiLC) เป็นห้องปฏิบัติการทางการเเพทย์
  2. ห้องปฏิบัติการภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
  3. กรุงเทพ อาร์ ไอ เอ แล็บ (BRIA LAB)
  4. ไวเทคโปร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  5. 5. NGD Lab
  6. ELN Laboratory or other up country laboratory in contact

สำหรับรายการตรวจบางรายการที่จำเป็นต้องส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ ผู้รับบริการต้องแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจสอบรายการตรวจและจัดหา อุปกรณ์สำหรับเก็บตัวอย่างส่งตรวจ และแนะนำวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจ รวมไปถึงขั้นตอนรายละเอียดในการขนส่ง

ขั้นตอนการส่งต่อสิ่งส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการอื่น

1.เจ้าหน้าที่รับสิ่งส่งตรวจ ตรวจสอบรายการส่งตรวจและคุณภาพของตัวอย่างตรวจวิเคราะห์

2.เจ้าหน้าที่ทำการลงทะเบียนสิ่งส่งตรวจ

3.แจ้งห้องปฏิบัติการผู้รับเหมาช่วง เพื่อให้เข้ารับสิ่งส่งตรวจ

(กรณีที่เป็นรายการตรวจเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ Logistic จะเป็นผู้เข้าไปส่งสิ่งส่งตรวจ)

4.บันทึกรายการตรวจวิเคราะห์ และผลการตรวจวิเคราะห์ ตามระยะเวลาที่ตกลง

5.รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางอีเมล์ และส่งผลตัวจริงหลังจากที่ได้รับผลจากผู้รับเหมาช่วง

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart