Specimen handing

การเก็บสิ่งส่งตรวจ (SPECIMEN COLLECTION)

การเก็บสิ่งส่งตรวจเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่งในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ดังนั้นไม่ว่าจะมีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ดี ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือมีผู้ตรวจวิเคราะห์ที่มีความเชี่ยวชาญ มากเพียงใดก็ตาม ถ้าสิ่งส่งตรวจเก็บมาไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมก็จะทำให้ผลตรวจวิเคราะห์ที่ได้ผิดพลาดไม่มีความหมายเพราะไม่ได้สะท้อนถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยจริงตามที่แพทย์ต้องการมากกว่านั้นหากเเพทย์นำผลตรวจวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาผิดพลาดและอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้

ชนิดของสิ่งส่งตรวจ

สิ่งส่งตรวจที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมีหลายชนิด อาจแบ่งได้ดังนี้

  1. เลือด
  2. ปัสสาวะ
  3. อุจจาระ
  4. น้ำไขสันหลังและน้ำเจาะจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  5. อื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าว เช่น เสมหะ หนอง swab ป้ายช่องคลอดเพื่อตรวจหา sperm และ acid – phosphatase เป็นต้น

เลือด (BLOOD)

ตัวอย่างเลือดที่ใช้ในการทดสอบอาจอยู่ในรูป clotted blood, serum หรือ plasma เพื่อให้ได้รูปแบบ ตัวอย่างเลือดตามที่ต้องการ และเป็นการลดความผิดพลาดในการเก็บตัวอย่างเลือด ได้มีการน าหลอดเลือดที่ มีจุกยางปิดหลอดเป็นสีต่างๆ ตามมาตรฐานสากลมาใช้ เจ้าหน้าที่เจาะเลือดต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง รายละเอียดเกี่ยวกับสีจุกยาง สารกันเลือดแข็งที่ใช้ และชนิดของการใช้งานในห้องปฏิบัติการดูได้ในตารางที่ 1 นอกจากนี้การเจาะเก็บเลือดในผู้ป่วยครั้งเดียวแต่มีหลายการทดสอบ (test) ที่ต้องใช้เลือดในรูปแบบต่างๆ กัน ต้องมีการจัดลำดับ (Order of draw) การใส่เลือดในหลอดเลือดที่มีจุกสีต่างๆ เพื่อลดผลกระทบจากการปนเปื้อนของสารที่เติมเข้าไปในหลอดเลือดตามลำดับก่อนหน้าติดเข็มที่เจาะมาสัมผัสกับเลือดในหลอดเลือดลำดับถัดมา (Additive carry over) ท าให้ผลตรวจวิเคราะห์ที่ได้ผิดพลาด ลำดับของการเลือกใส่เลือดในหลอดจุกสีต่างๆ ในการเจาะเลือดผู้ป่วยครั้งเดียวแต่มีหลายการทดสอบ ที่ใช้เลือดในรูปแบบต่างกัน

เทคนิคการเจาะเก็บเลือด

  1. การเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ (VENIPUNCTURE)

ข้อบ่งชี้ เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไปต้องการเลือดปริมาณมาก

ตารางที่ 1. แสดงสีจุกหลอดเลือด, สารกันเลือดแข็งที่ใช้ และชนิดของการใช้งานในห้องปฏิบัติการ

ลำดับการใส่เลือดลงในหลอดเลือด (สีของจุก) ชนิดต่างๆ ในการเจาะผู้ป่วยทั้ง 2 ระบบแบบ

ใช้ไซริงจ์และแบบใช้หลอดระบบสูญญากาศ

ลำดับที่ 1 ขวดอาหารเพาะเชื้อสำหรับเพาะเชื้อจากเลือด (ในกรณีที่ต้องการส่งตรวจ Hemoculture)

ลำดับที่ 2 หลอดเลือดที่มี sodium citrate (จุกสีฟ้า)

ลำดับที่ 3 Clotted Blood (จุกสีแดง)

ลำดับที่ 4 หลอดเลือดที่มี heparin (จุกสีเขียว)

ลำดับที่ 5 หลอดเลือดที่มี EDTA (จุกสีม่วง)

ลำดับที่ 6 หลอดเลือดที่มี sodium fluoride (จุกสีเทา)

ตำแหน่งที่เหมาะสม

  1. เส้นเลือดดำบริเวณข้อพับแขน (Antecubital fossa) มี 3 เส้นหลักคือ Median cubital vein, Cephalic vein และ Basilic vein ตามรูปประกอบ ให้พิจารณาเลือกเจาะเรียงตามลำดับดังกล่าว
  2. เส้นเลือดดำหลังมือ มี 2 เส้น คือ Metacarpal plexus และ Dorsal venous arch
  3. เส้นเลือดดำหลังเท้า ถ้าไม่สามารถหาเส้นเลือดที่เหมาะสมในตำแหน่งดังกล่าว อาจเลือกเส้นเลือดดำที่ไหปลาร้า (Subclavian vein) หรือเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ (Femoral vein) ซึ่งต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ

ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการเจาะเลือด

  1. บริเวณที่เป็นแผลเป็น เนื้อเยื่อหนาทำให้เจาะยาก
  2. บริเวณที่มีเส้นเลือดดำขอด (Thrombosis vein) เส้นเลือดหนาและดิ้น
  3. บริเวณที่มีรอยช้ำแดง หรือมีเลือดออกใต้ผิวหนัง เห็นตำแหน่งเส้นเลือดไม่ชัดทำให้เจาะยาก
  4. แขนข้างเดียวกับหน้าอกที่ผ่าตัด (Mastectomy) การเจาะเลือดจะทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อและปวดเจ็บนานเนื่องจากมีน้ำเหลืองคั่งภายหลังเจาะ ถ้าจำเป็นต้องเจาะต้องได้รับความ ยินยอมจากแพทย์
  5. แขนข้างที่ทำ AV shunt ของคนไข้ที่ใช้ในการล้างไต (dialysis) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  6. แขนข้างที่กำลังให้สารน้ำ (Intraveneous Fluid ) การเจาะเลือดจากแขนนี้จะทำให้เลือดที่ได้มีการปนเปื้อน ทำให้ผลวิเคราะห์ผิดพลาด เช่น ได้ค่า Glucose สูง ค่า Hematocrit ต่ำ ถ้าจำ เป็นให้เจาะเส้นเลือดนั้นตรงบริเวณที่อยู่ใต้ตำแหน่งที่ให้ โดยหยุดให้ IV ก่อน 2 นาที และควรปรึกษาแพทย์ก่อน

การเจาะเส้นเลือดดำโดยใช้ไซริงจ์ (Syringe method)

อุปกรณ์

  1. เข็มและไซริงจ์ขนาดตามที่ต้องการ ปกติจะใช้เบอร์ 21, 22
  2. สายยางรัดแขน (Touniquet)
  3. สำลีและแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค
  4. ถุงมือ
  5. หลอดเก็บเลือด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับการทดสอบ
  6. หมอนรองแขนเจาะเลือด

ขั้นตอนการเจาะ

  1. ผู้เจาะล้างมือ เช็ดให้แห้ง สวมถุงมือ และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม วางไว้ให้หยิบฉวยได้สะดวก
  2. ผู้เจาะสอบถามชื่อผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยบอกชื่อ -นามสกุล (ไม่ควรที่ผู้เจาะขานชื่อผู้ป่วยเองแล้วถามว่าใช่หรือไม่) พร้อมตรวจดูชื่อและรายการที่ตรวจในใบสั่งตรวจ อาจต้องถามคนไข้ว่าอดอาหาร (Fasting) มาหรือไม่
  3. ให้ผู้ป่วยนั่งลงพร้อมวางแขนลงบนหมอนรองแขนในลักษณะหงายมือ พาดลงและเหยียดตรง
  4. ผู้เจาะใช้สายยางรัดแขนเหนือบริเวณที่เจาะ 3 – 4 นิ้ว (ผูกเป็นห่วงอย่าผูกเงื่อน ให้ปลายทั้งสองข้างสามารถถูกปลดออกได้ง่าย) บอกให้ผู้ป่วยกำมือ (ไม่ควรรัดแขนนานเกิน 1 นาที ถ้าไม่สามารถดำเนินการขั้นตอนต่อไปภายใน 1 นาที ให้คลายสายรัดออกก่อน)
  5. หาตำแหน่งที่จะเจาะ เลือกเส้นเลือดขนาดใหญ่และมองเห็นชัด
  6. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่เจาะ โดยใช้สำลีชุปแอลกอฮอล์ หมุนเป็นวงกลมเริ่มจากตรงกลางหมุนออกนอก ทิ้งให้แห้ง ห้ามแตะต้องบริเวณนั้นอีก
  7. นำเข็มติดเข้ากับไซริงจ์ให้แน่น ดึงปลอกเข็มออก เช็คลูกสูบโดยดึงลูกสูบเข้าออก 1 ครั้ง
  8. ใช้นิ้วหัวแม่มือ ข้างหนึ่งกดดึงผิวหนังให้ตึงตรงบริเวณต่ำกว่าจุดที่จะเจาะประมาณ 1 -2 นิ้ว มืออีกข้างหนึ่งจับไซริงจ์และเข็มที่เตรียมไว้ หงายปลายตัดของเข็มขึ้น วางเข็มและไซริงจ์ ทำมุม 15 – 30 องศากับแขนในทิศทางเดียวกับเส้นเลือด แทงเข็มผ่านผิวหนังเข้าสู่เส้นเลือด หากปลายเข็มอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเลือดจะไหลเข้าสู่ไซริงจ์ ให้รีบปลดสายยางรัดแขนออกโดยดึงลงข้างล่าง (เว้นแต่พิจารณาแล้วว่าหากปลดสายยางรัดแขนออกอาจทำให้การเจาะเลือดล้มเหลวเจาะไม่ได้เลือดตามต้องการ)
  9. เมื่อเลือดไหลเข้าสู่ไซริงจ์ จับไซริงจ์ให้มั่นดึงลูกสูบเข้าช้าๆ จนได้ปริมาตรเลือดตามที่ต้องการ (พยายามอย่าให้เลือดมีฟองอากาศ)
  10. ถอนเข็มออกจากเส้นเลือดพร้อมปิดปากแผลด้วยสำลีแห้ง ให้ผู้ป่วยใช้มืออีกข้างจับสำลีกดบาดแผล (ไม่ควรให้ผู้ป่วยพับแขนหนีบสำลีไว้ )
  11. ผู้เจาะรีบนำเลือดที่เจาะได้ใส่ในหลอดเลือดที่เตรียมให้เป็นไปตามลำดับ ดังในรูป (กรณีที่ต้องใช้หลายหลอดเก็บเลือดตามชนิดของการทดสอบ)

– ในกรณีที่ใช้หลอดเก็บเลือดเป็นหลอดสูญญากาศ ให้แทงเข็มผ่านจุกยางเข้าไป ปล่อยให้แรงดันสูญญากาศดูดเลือดเข้าไปในหลอดเลือดเอง โดยไม่ต้องดันกระบอกสูบ เมื่อเลือดหยุดไหลเข้าหลอดเลือดให้ดึงเข็มออกจากจุกยาง ทำเช่นเดียวกันในหลอดเลือด

– ในกรณีที่ใช้หลอดเก็บเลือด ที่ไม่ใช่หลอดสุญญากาศ เปิดจุกหลอด ปลดเข็มออกจากไซริงจ์ก่อนที่จะฉีดเลือดลงไปในหลอดเลือดโดยดันลูกสูบ เช่น หลอดเลือดที่มีจุกสีฟ้า ,สีเขียว, สีม่วง, สีเทา เป็นต้น หลังใส่เลือดลงในหลอดเลือดแล้ว ให้พลิกหลอดคว่ำลง 6 -8 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเลือดไม่แข็งตัว

  1. หลังจากสิ้นสุดการถ่ายเลือดลงในหลอดเลือดแล้ว ให้ปลดเข็มทิ้งในภาชนะหรือกระป๋องทิ้งเข็มที่ฝามีรูล็อคเป็นที่ปลดเข็ม (ไม่ควรใช้มือใส่ปลอกเข็มคืนก่อนทิ้ง )
  2. เขียนชื่อ และรายละเอียดอื่น ลงบนป้ายที่ติดข้างหลอดใส่เลือดขณะที่คนไข้ยังอยู่ กรณีที่ใช้บาร์โค้ด ให้ติดบาร์โค้ดที่หลอดเลือดในขั้นตอนที่ 2
  3. ตรวจดูที่แขนคนไข้ ถ้าเลือดหยุดไหล ให้ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ (ถ้ามี) เด็กอ่อนที่มีอายุตำากว่า 2 ปีไม่ต้องปิดด้วยพลาสเตอร์ ทิ้งสำลีลงในภาชนะที่เหมาะสม จากนั้นกล่าวขอบคุณคนไข้
  4. ถอดถุงมือออกแล้วล้างมืออีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการเจาะเลือด

การเจาะเส้นเลือดดำโดยใช้ระบบหลอดสูญญากาศ (Evacuated tube method) เป็นการเจาะเลือดโดยเลือดจะถูกดูดเข้าหลอดเลือดที่ใช้เก็บโดยตรง

อุปกรณ์

  1. เข็ม 2 ปลาย (Multisample needle)
  2. Holder
  3. หลอดเก็บเลือด (Evacuated tube) ชนิดต่างๆ
  4. สายยางรัดแขน (Touniquet)
  5. สำลี และแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค
  6. หมอนรองแขนเจาะเลือด
  7. ถุงมือ

ขั้นตอนการเจาะ

  1. ดำเนินการเช่นเดียวกับการเจาะโดยใช้ไซริงจ์และเข็มในขั้นตอนก่อนเจาะ
  2. นำเข็ม 2 ปลายประกอบเข้ากับ Holder โดย ใช้ด้านสั้นของเข็ม (ด้านที่มีปลอกยางหุ้มเข็มและเป็นเกลียว) ใส่เข้าใน Holder หมุนตามเข็มนาฬิกาจนแน่นสนิท
  3. ถอดปลอกเข็มออก ดึงผิวหนังให้ตึงแล้วแทงเข็มไปในทิศทางเดียวกับเส้นเลือด โดยทำมุมประมาณ 15 องศา กับผิวหนัง
  4. จับ Holderให้มั่นคงใส่หลอดเลือดด้านที่มีจุกยางเข้าไปใน Holder ขณะที่มือข้างถนัดตรึงเข็มที่แทงอยู่ในเส้นเลือดไม่ให้ขยับ ส่วนมืออีกข้างเกี่ยวปีกของ Holder ด้วยนิ้วชี้และนิ้วกลาง ใช้นิ้วโป้งแตะก้นหลอดเลือดแล้วดันเข้าโดยให้เข็มที่มียางหุ้มอยู่แทงผ่านจุกยางของหลอด เลือดสูญญากาศ ถ้าเข็มอยู่ในเส้นเลือดในตำแหน่งที่เหมาะสมเลือดจะถูกดูดเข้าหลอดเลือดเองเมื่อเลือดไหลเข้าหลอดเลือดแล้วให้ปลดสายยางรัดออก
  5. เมื่อหลอดเลือดแรกมีเลือดไหลเข้าจนถึงปริมาณที่กำหนดและหยุดไหลให้ดึงหลอดเลือดนั้นออกจาก Holder ขณะกำลังจะเปลี่ยนหลอดเลือดต้องจับเข็มให้มั่นคงเพื่อไม่ให้เข็มหลุดออกจากเส้นเลือด จากนั้นให้ใส่หลอดเลือดถัดไปตามลำดับเช่นเดียวกับการเจาะด้วยไซริงจ์

[ คำเตือน ! ] หลังเจาะเลือดใส่หลอดที่มีสารกันเลือดแข็ง ต้องพลิกหลอดคว่ำขึ้นคว่ำลง 6 – 8 ครั้ง ก่อนจะวางหลอดไว้ หรือเก็บเลือดหลอดถัดไป

  1. เมื่อได้เลือดตามต้องการแล้ว ดึงเข็มออก ปิดแผลด้วยสำลีแห้ง รอเลือดหยุดไหล แล้วจึงปิดพลาสเตอร์
  2. ปลดเข็มออกจาก Holder โดยใช้ Reshield ที่มีปลอกเข็มวางอยู่ หรือปลดที่ฝากระป๋องทิ้งเข็มซึ่งมีตัวล็อคสำหรับปลดเข็ม (ไม่ควรใช้มือใส่ปลอกเข็มคืนก่อนทิ้ง)

 

2. การเจาะเลือดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณผิวหนัง (Skin Puncture)

ข้อบ่งชี้ใช้กรณีที่ต้องการเลือดจำนวนน้อย หรือเจาะ venipuncture ไม่ได้

ตำแหน่งที่เหมาะสม

  1. ปลายนิ้วมือ
  2. ส้นเท้า

อุปกรณ์

  1. ถุงมือ
  2. Lancet หรือเครื่องมือเจาะเลือด
  3. สำลีชุบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
  4. Microhemacrit tube หรือหลอดเก็บเลือดขนาดเล็ก
  5. สำลีแห้ง หรือผ้าก๊อซปลอดเชื้อ

1. การเจาะปลายนิ้ว (Finger Puncture) ใช้เจาะในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี นิ้วที่ใช้ (ถูก) เจาะ คือ นิ้วนางและนิ้วกลาง ซึ่งทั้งสองนิ้วนี้ก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนน้อยกว่านิ้วอื่นๆ ตำแหน่งที่เจาะคือ จุดกึ่งกลางระหว่างตรงกลางนิ้ว (เนินนูน) กับด้านข้างของนิ้วโดยให้แผลที่เจาะตั้งฉากกับเส้นลายนิ้วมือ ดังรูป

2. การเจาะส้นเท้า (Heel Puncture) ใช้เจาะในทารกแรกเกิดและเด็กที่ยังไม่เริ่มเดิน ขณะเจาะต้องยึดข้อเท้าเด็กให้มั่นคง ทำโดยใช้นิ้วชี้ของผู้ทำการเจาะเลือดวางหรือจับตรงโค้งของฝ่าเท้า และนิ้วหัวแม่มือให้วางอยู่ห่างจากบริเวณที่เจาะ ตำแหน่งที่เจาะคือด้านข้างทั้ง 2 ของส้นเท้า ดังรูป

ขั้นตอนการเจาะ

  1. ขั้นตอนแรกทำเช่นเดียวกับการเจาะเส้นเลือดดำ
  2. ใช้สำลีชุปแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณที่เจาะ
  3. รอให้บริเวณที่เจาะแห้ง ใช้ lancet หรือเครื่องมือเจาะ เจาะผิวหนังบริเวณดังกล่าวในทิศทาง ที่ทำให้รอยแผลที่เกิดขึ้นตั้งฉากกับลายนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ลึกประมาณ 2 – 3 มม. แล้วแต่ ขนาดของผู้ป่วย ปล่อยให้เลือดไหลออกมาอิสระ [คำเตือน !] ห้ามบีบหรือเค้นบริเวณที่เจาะแรงๆ เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก หรือเกิดการปนเปื้อน เนื้อเยื่อและของเหลวทำให้ผลผิดพลาด
  4. ใช้สำลีหรือผ้าก๊อซเช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไปก่อน แล้วจึงเก็บหยดเลือดต่อไป
  5. ใช้ hematocrit tube วางไว้ใกล้หยดเลือดรองรับหยดเลือดที่ไหลออกมาในตำแหน่งเป็นมุม ฉาก ปล่อยให้เลือดไหลลงหลอด อาจต้องบีบนิ้วหรือส้นเท้าเบาๆ เพื่อให้เลือดไหลอย่าง ต่อเนื่องจนได้เลือดครบตามต้องการ ในกรณีที่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดหลายรูปแบบให้จัดลำดับการเก็บเลือดดังนี้ 1. หลอดจุกม่วงขนาดเล็ก (EDTA tube) 2. หลอดจุกสีอื่นๆ ขนาดเล็ก (tube with additive) 3. หลอดจุกแดงขนาดเล็ก (Serum tube) สำหรับหลอดเลือดขนาดเล็กข้อ 1 และ 2 ต้องปิดฝาและเขย่าแบบคว่ำขึ้นลงอย่างน้อย 8 -10 ครั้ง ทันทีเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดแข็งตัวเล็กๆ ทำให้ผลผิดพลาดได้

ปัสสาวะ (URINE)

ข้อบ่งชี้ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการตรวจแต่ละประเภท

  1. SINGLE SPECIMEN คือการเก็บปัสสาวะครั้งเดียว แบ่งเป็น

1.1 Random urine เก็บเมื่อใดก็ได้ ใช้เก็บปัสสาวะตรวจในงานประจำวัน เช่น U/A , น้ำตาล โปรตีน และภาวะตั้งครรภ์

วิธีเก็บ

  1. ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะตอนแรกทิ้งไปก่อน (ปัสสาวะส่วนแรกทำหน้าที่ขจัดสิ่งปนเปื้อนภายใน ท่อปัสสาวะทิ้งไป)
  2. ใช้ภาชนะใส , สะอาด , แห้ง และปากกว้าง รองรับตอนกลางของปัสสาวะที่กำลังไหลให้ได้ ปริมาณ 30 มล.
  3. ปัสสาวะส่วนท้ายให้ทิ้งไป

1.2 First morning urine คือการเก็บปัสสาวะครั้งแรกหลังตื่นนอน ซึ่งปัสสาวะนี้เป็น ปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง มีความเข้มข้นมากกว่าปัสสาวะช่วงเวลา อื่นๆ โอกาสที่จะตรวจพบความผิดปกติทางพยาธิสภาพของสิ่งต่างๆ ได้มากกว่า รวมทั้ง nitrite และ โปรตีน วิธีการเก็บและนำส่งเช่นเดียวกับข้อ 1.1 1.3 Fractional urine คือการเก็บปัสสาวะเป็นช่วงเวลาที่กำหนด เช่น การเก็บปัสสาวะใน ขณะที่ทำ Glucose Tolerance test ซึ่งจะต้องปัสสาวะทิ้งไปก่อนที่จะเริ่มให้รับประทานกลูโคส หลังจากนั้น 2 ชั่วโมงเก็บปัสสาวะอีกครั้ง (ถ้าได้) วิธีการเก็บและนำส่ง เช่นเดียวกับข้อ 1.1

2. CATHETERIZED SPECIMEN คือการเก็บปัสสาวะโดยวิธีสวนให้ปัสสาวะไหลออกมาเอง ใส่ใน ภาชนะที่เก็บ วิธีการเก็บและนำส่งเช่นเดียวกับข้อ 1.1

3. TIMED SPECIMEN คือการเก็บปัสสาวะในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง นิยมใช้ส่ง ตรวจหาสารเคมี หรือฮอร์โมนที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด การนำส่ง ตัวอย่างปัสสาวะทุกแบบ ควรนำส่งทันที เพราะว่าส่วนประกอบของปัสสาวะเริ่มต้นสลายใน เวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิห้อง หรือภายใน 4 ชั่วโมง เมื่อเก็บไว้ในตู้เย็น การเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24 hr. urine)

วิธีเก็บ

  1. กำหนดเวลาเริ่มต้น และเวลาสุดท้าย และวิธีเก็บให้ผู้ป่วยทราบ เช่น กำหนดให้เก็บตั้งแต่เวลา 8.00 น. ของวันที่เริ่มเก็บ เก็บจนถึงเวลา 8.00 น. ของวันถัดไป
  2. เวลา 8.00 น.ของวันที่เริ่มเก็บให้ถ่ายปัสสาวะครั้งแรกทิ้งไปก่อน 3. เริ่มเก็บปัสสาวะครั้ง ต่อไป และเก็บทุกครั้งที่มีการถ่ายปัสสาวะตลอดไป จนถึงเวลา 8.00 น. ของวันถัดไป
  3. เวลา 8.00 น. ของวันถัดไป ถ่ายปัสสาวะเป็นครั้งสุดท้าย และเก็บรวมปัสสาวะครั้งสุดท้ายนี้
  4. นำส่งห้องปฏิบัติการทันที

หมายเหตุ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการเก็บปัสสาวะอาจมีการเน่าเสียมีกลิ่น จำเป็นต้องใช้สารรักษาสภาพ และเก็บไว้ในตู้เย็น

– Toluene ใช้ปริมาณ 5-10 มล. เป็นตัวรักษาสภาพสำหรับปัสสาวะที่จะตรวจหา urea , glucose , uric acid , amino acid

– Boric acid ใช้ปริมาณ 5-10 มล. เป็นตัวรักษาสภาพสำหรับปัสสาวะที่จะตรวจหา albumin , creatinine และ ฮอร์โมนต่างๆ

อุจจาระ (STOOL OR FAECES)

อุปกรณ์

  1. ภาชนะปากกว้างประมาณ 50 มล. มีฝาปิดได้สนิทและเปิดได้ง่าย
  2. ไม้เขี่ยอุจจาระ เป็นไม้แบนๆ สะอาด

วิธีเก็บ

  1. ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในภาชนะที่สะอาด เช่น กระโถน
  2. ใช้ไม้เขี่ยอุจจาระให้ได้ปริมาณเท่าปลายนิ้ว ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้แล้วปิดฝา (ถ้าอุจจาระมีมูกเลือดปน เลือกเอาบริเวณที่มีมูกเลือด หรือส่วนที่สงสัยว่าเป็นตัวพยาธิ)
  3. นำส่งพร้อมใบส่งตรวจที่กรอกรายละเอียดเรียบร้อย หมายเหตุ กรณีที่ไม่สามารถนำส่งได้ทันทีให้เก็บไว้ในอุณหภูมิตู้เย็น 4องศาเซลเซียส แต่ถ้าต้องการตรวจหาเชื้อบิดมีตัว , Giardia lamblia, Balantidium coli ต้องนำส่งทันที ไม่ควรเก็บในตู้เย็น

น้ำไขสันหลัง (CEREBROSPINAL FLUID)

อุปกรณ์ ขวดสะอาดปราศจากเชื้อจำนวนอย่างน้อย 3 ขวด

ข้อบ่งชี้และวิธีเก็บ แพทย์ที่ทำการเจาะน้ำไขสันหลังจะเป็นผู้เก็บ โดยถ้ามีปริมาณมากเพียงพอ ควรแบ่งใส่ขวดที่เขียนหมายเลขไว้เป็น 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

ขวดที่ 1 สำหรับส่งตรวจหาโปรตีน , น้ำตาลทางเคมีคลินิก (Clinical chemistry lab) และตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก (Clinical Immunology lab)

ขวดที่ 2 สำหรับส่งตรวจเพาะเชื้อทางด้านจุลชีววิทยาคลินิก (Clinical microbiology lab)

ขวดที่ 3 สำหรับส่งตรวจหา cell count , cell differential (Hematology lab)

การนำส่ง ต้องนำส่งห้องปฏิบัติการทันที

น้ำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย (BODY FLUID)

Body Fluid ได้แก่ Pleural fluid , Peritoneal fluid (Ascites), Pericardial fluid, Synovial fluid เป็นต้น

อุปกรณ์และข้อบ่งชี้

  1. ขวดหรือหลอดเลือดอย่างน้อย 3 ขวด หรือ 3 หลอด พร้อมสารกันเลือดแข็งที่เหมาะสมตาม ชนิดของการทดสอบ
  2. เข็มเจาะพร้อมไซริงจ์
  3. อุปกรณ์และน้ำยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค

วิธีเก็บ แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้เก็บโดยวิธี aseptic technique โดยใส่ body fluid ที่ได้ลงในขวดหรือหลอด เลือดเป็นไปตามชนิดของการทดสอบที่ต้องการ ดังรายละเอียดในตารางด้านล่าง การนำส่ง ให้นำส่งห้องปฏิบัติการทันที

ตาราง แสดงชนิดของการทดสอบ สารกันเลือดแข็ง และปริมาณของ Body fluid ที่ใช้

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart